วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแบ่ง Subnet

เทคนิคการคำนวณ

IP Address
IP Address หรือ Internet Protocol Address มีความสำคัญอย่างไร และเกี่ยวข้องอะไรกับ
เราบ้าง ปัจจุบันคงไม่ต้องกล่าวถึงแล้ว IP Address เป็นหมายเลขที่ใช้กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ
อุปกรณ์ Network ต่างๆ เช่น Router, Switch , Firewall , IP Camera , IP Phone , Access
point , เป็นต้น และอีกไม่นานอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์สื่อสารทุกประเภทที่จะออกวางจำหน่ายจะมีIP
Address ติดมาด้วยจากโรงงานเลยทีเดียว IP Address ที่ใช้ในปัจจุบันนั้นจะเป็นชนิดที่เรียกว่า IPv4
(IP version 4) ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงมีการพัฒนาเป็น IPv6 (IP version 6) เพื่อรองรับ
อุปกรณ์และเทคโนโลยีใหม่ๆที่ต้องใช้IP Address ในการติดต่อสื่อสาร และในเมืองไทยเองก็มีการใช้IPv6
ในหลายหน่วยงานแล้ว หน่วยงานที่จัดสรร IP Address ให้ในแถบ Asia Pacific คือAPNIC ผู้
ให้บริการ Internet หรือ ISP จะขอ IP จาก APNIC แล้วนำมาแจกจ่ายให้แก่ลูกค้าของ ISP นั้นๆอีกต่อไป
สำหรับผู้ที่จะสอบใบ Certificate ค่ายต่างๆ เช่น CCNA , CCNP , LPI , Security + , CWNA
เป็นต้น ล้วนแล้วแต่จะต้องมีความรเู้ กี่ยวกับ IP Address ทั้งสิ้น โดยเฉพาะ IPv4 จะต้องคำนวณได้อย่าง
แม่นยำและรวดเร็ว
IPv4
IPv4 ประกอบด้วยเลขฐานสอง 32 bits (4 bytes ,( 8bits=1byte)) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 8 bits แต่
ละกลุ่มนั้นจะคั่นด้วย . ( Dot )
กรณีตัวเลขน้อยสุดหรือเป็น เลข 0 ทั้งหมด  00000000 . 00000000 . 00000000 . 00000000
กรณีตัวเลขมากสุดหรือเป็น เลข 1 ทั้งหมด  11111111 . 11111111 . 11111111 . 11111111
เมื่อแปลงเป็นเลขฐาน 10 จะได้
กรณีตัวเลขน้อยสุดหรือเป็น เลข 0 ทั้งหมด  0.0.0.0
กรณีตัวเลขมากสุดหรือเป็น เลข 1 ทั้งหมด  255.255.255.255
ดังนั้น IPv4 จะมีตัวเลขที่เป็นไปได้ ตั้งแต่ 0.0.0.0 – 255.255.255.255
ก่อนการคำนวณเรื่อง IP เพื่อความรวดเร็ว ให้เขียนตามด้านล่างนี้


IPv4 จะมีตัวเลขที่เป็นไปได้ทั้งหมดคือตั้งแต่ 0.0.0.0 - 255.255.555.555
สามารถแบ่ง IPv4 ได้เป็น 5 แบบ หรือ 5 Class ตามด้านล่าง โดยวิธีการแบ่งจะอ้างอิงจาก byte ที่1 ดังนี้
class A  byte ที่1 ตัวเลขบิตแรก จะเป็น 0
class B  byte ที่1 ตัวเลขบิตแรกจะเป็น 1 บิตที่2 จะเป็น 0
class C  byte ที่1 ตัวเลข 2 บิตแรก จะเป็น 1 บิตที่3 จะเป็น 0
class D  byte ที่1ตัวเลข 3 บิตแรก จะเป็น 1 บิตที่4 จะเป็น 0
class E  byte ที่1 ตัวเลข 4 บิตแรกจะเป็น 1
ดังนั้นจะได้ผลตามรูปด้านล่าง

จะได้IP ในแต่ละ Class ดังนี้
Class A จะเริ่มต้นตั้งแต่ 0.0.0.0 ถึง 127.255.255.255
Class B จะเริ่มต้นตั้งแต่ 128.0.0.0 ถึง 191.255.255.255
Class C จะเริ่มต้นตั้งแต่ 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.255
Class D จะเริ่มต้นตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255
Class E จะเริ่มต้นตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.255
IP ที่สามารถนำไป Set ให้อุปกรณ์หรือ Host ได้จะมีอยู่3 Class คือ Class A, B และ C ส่วน IP Class
D จะสงวนไว้ใช้สำหรับงาน multicast applications และ IP Class E จะสงวนไว้สำหรับงานวิจัย หรือ
ไว้ใช้ในอนาคต
IPv4 ยังแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ Public IP ( IP จริง ) และ Private IP ( IP ปลอม )
Public IP ( IP จริง ) คือ IP ที่สามารถ set ให้อุปกรณ์network เช่น Server หรือ Router แล้ว
สามารถติดต่อสื่อสารกับ Public IP ( IP จริง ) ด้วยกัน หรือออกสู่Network Internet ได้ทันที
Private IP ( IP ปลอม ) สามารถนำมา ใช้set ให้กับ PC หรืออุปกรณ์ในออฟฟิตได้แต่ไม่สามารถออกสู่
Public IP หรือออก Internet ได้ ต้องมีอุปกรณ์ Gateway เช่น Router ,Server หรือModem
DSL เปิด Service NAT ( Network Address Translation ) ไว้ จึงจะสามารถออกสู่Internet ได้

Private IP จะมีเฉพาะ Class A,B และ C ดังนี้
Class A : 10.x.x.x ( 10.0.0.0 - 10.255.255.255 )
Class B : 172.16.x.x - 172.31.x.x ( 172.16.0.0 - 172.31.255.255 )
Class C : 192.168.x.x ( 192.168.0.0 - 192.168.255.255 )
การคำนวณ IPv4
เมื่อเราได้IP Address มา 1 ชุด สิ่งที่จะต้องบอกได้จาก IP Address ที่ได้มาคือ
Subnet Mask คือ IP Address อะไร
Network IP คือ IP Address อะไร
Broadcast IP คือ IP Address อะไร
Range host IP ที่สามารถนำมาใช้งานได้ มีIP อะไรบ้าง
จำนวน Subnets , จำนวน hosts / Subnet
Subnet Mask ทำหน้าที่แบ่ง network ออกเป็นส่วนย่อยๆ ลักษณะคล้ายกับ IP Address คือ
ประกอบด้วยตัวเลข 4 ตัวคั่นด้วยจุด เช่น 255.255.255.0 วิธีการที่จะบอกว่า computer แต่ละเครื่องจะอยู่
ใน network วงเดียวกัน (หรืออยู่ใน subnet เดียวกัน) หรือไม่นั้นบอกได้ด้วยค่า Subnet Mask

วิธีการหา Subnet Mask
/30 หมายถึง mask 30 bits แรก
/27 หมายถึง mask 27 bits แรก
/20 หมายถึง mask 20 bits แรก
ให้ทำการแปลง mask bit ที่กำหนดให้ เป็นค่า Subnet Mask
วิธีการคือ bits ที่อยู่หน้าตัวmask ให้แทนด้วยเลข 1 bits ที่อยู่หลังให้แทนด้วยเลข 0
Ex /30
/30  11111111 . 11111111 . 11111111 . 111111/00

จะได้ค่า Subnet Mask
/30  255.255.255.252
11111111 . 11111111 . 11111111 . 111111/00
ให้ใช้ตารางช่วยจะทำให้เร็วขึ้น โดย ถ้าเป็น 1 จำนวน 8 ตัวจะได้255
ถ้าเป็น 1 จำนวน 6 ตัวจะคือ 252 หรือจะใช้วิธีนับจาก 24 bits แรกซึ่งเป็น 1 ทั้งหมดอยู่แล้ว นับต่อมาจะได้
bits ที่30 เป็น 252 พอดี
Ex /27
/27  11111111 . 11111111 . 11111111 . 111/00000
จะได้ค่า Subnet Mask
/27  255.255.255.224

/20  11111111 . 11111111 . 1111/0000 . 00000000
จะได้ค่า Subnet Mask
/20  255.255.240.0
ตัวอย่าง Subnet Mask ต่างๆ มีดังนี้
Mask ที่เป็นค่า default ของ IP Class ต่างๆมีดังนี้
Class A = Mask 8 bits = 255 . 0 . 0 . 0
Class B = Mask 16 bits = 255 . 255 . 0 . 0
Class C = Mask 24 bits = 255 . 255 . 255 . 0
Subnet mask ทั่วไป
Mask 10 = 255 . 192 . 0 . 0 Mask 21 = 255 . 255 . 248 . 0
Mask 11 = 255 . 224 . 0 . 0 Mask 22 = 255 . 255 . 252 . 0
Mask 12 = 255 . 240 . 0 . 0 Mask 23 = 255 . 255 . 254 . 0
Mask 13 = 255 . 248 . 0 . 0 Mask 25 = 255 . 255 . 255 . 128
Mask 14 = 255 . 252 . 0 . 0 Mask 26 = 255 . 255 . 255 . 192
Mask 15 = 255 . 254 . 0 . 0 Mask 27 = 255 . 255 . 255 . 224
Mask 17 = 255 . 255 . 128 . 0 Mask 28 = 255 . 255 . 255 . 240
Mask 18 = 255 . 255 . 192 . 0 Mask 29 = 255 . 255 . 255 . 248
Mask 19 = 255 . 255 . 224 . 0 Mask 30 = 255 . 255 . 255 . 252
Mask 20 = 255 . 255 . 240 . 0 Mask 31 = 255 . 255 . 255 . 254

หลังจากได้Subnet Mask แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการหา Network IP และ Broadcast IP
Network IP คือ IP ตัวแรกของ Subnet ปกติจะเอาไว้ประกาศเรื่องของ Routing จะไม่สามารถนำมา
Set ให้แก่อุปกรณ์หรือเครื่อง PC ได้

Broadcast IP คือ IP ตัวสุดท้ายของ Subnet ปกติจะทำหน้าที่Broadcast ให้อุปกรณ์ที่อยู่ในวงเดียวกัน
จะไม่สามารถนำมา Set ให้แก่อุปกรณ์หรือเครื่อง PC ได้เช่นกัน
Ex.1 192.168.22.50/30
จากโจทย์ /30 เมื่อแปลงเป็น Subnet Mask จะได้255.255.255.252
ให้ดูจากที่เขียนไว้ด้านบนนะครับ ถ้าเป็น 1 หมดทั้ง 8 ตัวจะได้255 ( แปลงจากฐานสองเป็นฐานสิบ )
เป็น 1 ทั้งหมด 6 ตัวจะได้252 ดังนั้นจึงได้subnet mask เป็น 255.255.255.252
ต่อไป หาว่า จำนวน IP ต่อ Subnet มีจำนวนเท่าไหร่ จากค่า Subnet Mask ที่ให้มา
ดูที่2 bit ที่เหลือ ที่เป็นอะไรก็ได้นั้น ตัวเลขที่เป็นไปได้หมดคือ 00 , 01 , 10 , 11 มี4 ตัว
และเมื่อนำ00 , 01 , 10 , 11 แปลงเป็นฐานสิบจะได้
00 แปลงเป็นฐานสิบจะได้ 0
01 แปลงเป็นฐานสิบจะได้ 1
10 แปลงเป็นฐานสิบจะได้ 2
11 แปลงเป็นฐานสิบจะได้ 3

สรุปคือ จำนวน IP ต่อ Subnet เมื่อ Subnet Mask คือ 255.255.255.252 คือ 4 ตัว นั่นเอง
หรือใช้วิธีลัดดูจากที่เขียนไว้ ตัวเลขที่อยู่บน 252 คือ 4 ตามด้านล่างครับ

ดังนั้นถ้า /30 จำนวน IP ในแต่ละ subnet ที่จะเป็นไปได้ดูเฉพาะกลุ่มสุดท้าย
คือ 0-3 , 4-7 , 8-11 , _ _ _ , 252-255 หรือเขียนในรูป IPv4 จะได้
192.168.22.0 - 192.168.22.3
192.168.22.4 - 192.168.22.7
192.168.22.8 - 192.168.22.11
-----------
192.168.22.48 - 192.168.22.51
---------
192.168.22.252 - 192.168.22.255

วิธีการหา Network IP นอกเหนือจากการเขียนตามด้านบนแล้วยังหาได้โดย
วิธีการปกติทำได้โดยการนำเอา Subnet Mask มา AND กับ IP Address ที่ให้มา ผลที่ได้จะเป็น
Network IP วิธีนี้หนังสือหลายเล่มมีอธิบายแล้ว
วิธีการหาร นำIP จากโจทย์ที่ให้มา ตั้งหารด้วยจำนวน IP ที่มีได้ใน Subnet เช่น
192.168.22.50/30 ให้นำเอาตัวเลข 50 หารด้วย 4 ดังด้านล่าง

เมื่อได้Netwok IP แล้ว ก็จะได้คำตอบเช่นเดียวกับด้านบน เนื่องจากเรารู้อยู่แล้วว่า /30 ใน 1 subnet จะมี
จำนวน IP ทั้งหมด 4 ตัวจากตาราง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

Ex.2 192 .168.5.33/27 which IP address should be assigned to the PC host ?
A.192.168.5.5
B.192.168.5.32
C. 192.168.5.40
D. 192.168.5.63
E. 192.168.5.75
จากโจทย์/27 จะหมายถึง
11111111 . 11111111 . 11111111 . 111/XXXX X = mask 27 bit แรก ต้องเป็นเลข 1 ส่วน 5
bit หลัง เป็นอะไรก็ได้
/27 เมื่อแปลงเป็นเลขฐานสิบจะได้255 . 255 . 255 . 224


หรือจะคิดแบบลัด ตามตาราง ดูบรรทัดที่4 จะหมายถึงผลบวกของ bit ใน 8 bit สุดท้ายครับ 111 ก็คือ
128+64+32 = 224
เมื่อ ได้Subnet Mask แล้ว เราก็จะรู้ว่ามีจำนวน IP ต่อ Subnet เท่ากับ 32 หรือจะดูจากที่เขียนไว้ด้านบน
ของ 224 ก็คือ 32 นั่นเอง
จากโจทย์192 .168.5.33/27 จะใช้วิธีไหนก็ได้หาตัว Network มาให้ได้ก่อน
192.168.5.33/27 หมายถึง 192.168.5.32 - 192.168.5.63
โดย IP ตัวแรกจะเป็น Network IP ( 192.168.5.32 ) และ IP ตัวสุดท้ายจะเป็น Broadcast IP (
192.168.5.63 ) ซึ่งไม่สามารถใช้set ให้แก่PC ได้ ดังนั้นจะเหลือ IP ที่สามารถ Set ให้แก่PC ได้คือ
192.168.5.33 - 192.168.5.62
คำตอบจึงเป็นข้อ C. 192.168.5.40
Ex.3 IP 10.10.10.0/13 เป็น IP ที่นำไป set ให้host ได้หรือไม่
IP ที่สามารถนำไป set ให้host ได้หรือนำไปใช้งานได้ จะต้องไม่ตรงกับ Network IP หรือ
Broadcast IP

วิธีการคิดก่อนอื่นเราต้องทำการแปลง /13 หรือmask 13 bit ให้เป็น subnet mask


11111111 . 11111/XXX . XXXXXXXX . XXXXXXXX = mask 13 bit
แรก ต้องเป็นเลข 1 ส่วน bit ที่เหลือเป็นอะไรก็ได้
/13 เมื่อแปลงเป็นเลขฐานสิบจะได้ 255 . 248 . 0 . 0
จากโจทย์ เขียนใหม่ได้ดังนี้IP 10.10.10.0 subnet mask 255.248.0.0
ขั้น ต่อไปเราจะมาหาช่วง IP จาก subnet mask ที่หามาได้255.248.0.0
หลักที่1 จะมีค่าคงที่คือเลข 10 หลักที่3 และหลักที่4 นั้น ตัวเลขที่เป็นไปได้คือ 0 - 255
ส่วนหลักที่2 นั้น เราต้องมาคำนวณ โดยเว้นไว้ก่อน เขียนช่วง IP จะได้ดังนี้คือ
10 . X . 0 . 0 - 10 . X . 255 . 255

ถ้า เราพิจารณาเฉพาะ 248 (ดูเฉพาะตัวเลขกลุ่มที่2 ) ถ้าดูจากรูปด้านบน บรรทัดที่3 ซึ่งจะหมายถึง IP ที่มี
ได้ทั้งหมด ก็คือ 8 ตัว คือ 0-7 , 8-15 , 16- 23 , _ _ _ , 248-255 หรือเขียนเต็มๆจะได้
10 . 0 . 0 . 0 - 10 . 7 . 255 . 255
10 . 8 . 0 . 0 - 10 . 15 . 255 . 255 ------------> จากโจทย์10.10.10.0 จะอยู่ในช่วงนี้
10 . 16 . 0 . 0 - 10 . 23 . 255 . 255
------------
10 . 248 . 0 . 0 - 10 . 255 . 255 . 255
จากโจทย  10.10.10.0/13 ก็จะคือ IP ในช่วง 10 .8 . 0 . 0 - 10 . 15 . 255 . 255

การหาจำนวน Subnet และ จำนวน hosts / Subnet
การหาจำนวน hosts ต่อ Subnet จากค่า Subnet Mask ที่ให้มา จะใช้ สูตร
2n - 2
โดย n คือจำนวน bits ที่อยู่หลังตัวMask ส่วนเลข 2 ที่ลบออกไปคือ Network IP และ Broadcast IP
Ex.1 /30 11111111 . 11111111 . 11111111 . 111111/00
หรือ 255.255.255.252 จะได้
จำนวน hosts/Subnet = 2n - 2 = 22 - 2 = 4 - 2 = 2
Ex.2 /20 11111111 . 11111111 . 1111/0000 . 00000000
หรือ 255.255.240.0
จำนวน hosts/Subnet = 2n - 2 = 212- 2 = 4096 - 2 = 4094
การหาจำนวน Subnet จากค่า Subnet Mask ที่ให้มา ปัจจุบันใช้สูตร
2n ไม่ต้องลบ 2 เนื่องจากว่า ปัจจุบันทุก Subnet สามารถใช้ได้ทั้งหมด และใน router cisco เองมีการ
เพิ่ม IP Subnet Zero ไว้อยู่แล้ว
โดย n คือจำนวน bits ที่อยู่หน้าตัวMask ถึงตำแน่ง . (dot) ที่ใกล้ที่สุดหรือตำแหน่งที่ระบุไว้

Ex.3 /30 11111111 . 11111111 . 11111111 . 111111/00
หรือ 255.255.255.252 จะได้
จำนวน Subnet = 2n = 26 = 64
Ex.4 /20 11111111 . 11111111 . 1111/0000 . 00000000
หรือ 255.255.240.0
จำนวน Subnet = 2n = 24 = 16
Ex.5 จากเดิม /20 แบ่งเป็น /27 จะได้กี่Subnet อันนี้ระบุMask ต้นทางมาจะได้
11111111 . 11111111 . 1111/1111 . 111/00000
จำนวน Subnet = 2n = 27 = 128

เราหา Subnet ที่สองได้โดยใช้เบอร์ที่ยังว่างอยู่ที่ถัดจาก Broadcast Address ของ
 Subnet  ที่  1  คือเบอร์ 192.168.1.16  แล้วบวกด้วยค่าสูงสุดของช่วงคือ 15 จะได้ช่วงของ
 IP  Address สำหรับ Subnet ที่สองคือ 192.168.1.16 ถึง 192.168.1.31 ดังนั้นจะได้

 Subnet 2 (192.1.1.16/28)

Network Address                    192.1.1.16

Host Address แรก                   192.1.1.17

Host Address สุดท้าย              192.1.1.30

Broadcast Address                  192.1.1.31

ทำเหมือนกับ Subnet ที่สอง สำหรับ Subnet ที่เหลือ

Subnet 3 (192.1.1.32/28)

Network Address                    192.1.1.32

Host Address แรก                   192.1.1.33

Host Address สุดท้าย              192.1.1.46

Broadcast Address                  192.1.1.47

Subnet 4 (192.1.1.48/28)

Network Address                    192.1.1.48

Host Address แรก                   192.1.1.49

Host Address สุดท้าย              192.1.1.62

Broadcast Address                  192.1.1.63

Subnet ที่เหลือก็ใช้วิธีการคำนวณแบบเดียวกัน แบ่งไปเรื่อย ๆ จนได้ครบ 10 Subnet

คำศัพท์ที่ควรรู้
Classful และClassless


Classful จะสนใจ Class ของ IP เป็นหลักจะไม่สนใจตัวMask ดูตัวเลข IP ว่าอยู่Class ไหน เช่น อยู่
Class A ,B หรือ C ตามนี้
Class A ( 0.0.0.0 - 127.255.255.255 )
Class B ( 128.0.0.0 - 191.255.255.255 )
Class C (192.0.0.0 - 223.255.255.255 )
ในการใช้IP Address ช่วงแรกๆจะเป็นแบบ Classful ซึ่ง Classful จะ มีค่า default subnet mask

A /8 255.0.0.0
B /16 255.255.0.0
C /24 255.255.255.0
ดังนั้นถ้าเราใช้หลักการของ Classful ก็ไม่สามารถแบ่ง Subnet ได้แตกต่างจากค่า Default Subnet Mask
ตัวอย่าง routing protocols : ที่เป็นแบบClassful
• RIP Version 1 (RIPv1)
• IGRP
ส่วน Classless จะตรงข้ามกับ Classful คือจะไม่สนใจ Class ของ IP แต่จะสนใจตัวMask เป็น
หลัก อย่างเช่นที่คำนวณตามตัวอย่างที่ผ่านมา โดยจะเป็นไปตามหลักการของ Classless Inter-
Domain Routing (CIDR) ดังนั้น ตัวMask จะเป็นอะไรก็ได้ไม่สนใจว่า IP อยู่Class ไหน

จากหลักการ เครือข่ายที่เราใช้งานกันอยู่ ไม่จำเป็นจะต้องมีขนาดเท่ากันเสมอไป (ไม่จำเป็นต้องมี ตัวMask
เท่ากัน ) เช่น การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) ต้องการแค่2 IP ก็เพียงพอ ดังนั้นก็ควร
Mask 30 bit ( /30 ) หรือใช้subnet mask เป็น 255.255.255.252 หรือการเชื่อต่อใน
LAN ที่มีเครื่องเพียง 20 เครื่อง ก็ควรmask 27 bit ( /27 ) หรือ ใช้subnet mask เป็น
255.255.255.224 เป็นต้น ดังตัวอย่างในรูปด้านล่าง ใช้หลักการของVLSM จะเห็นว่าแต่ละ
subnet จะมีตัวmask ต่างกันและmask bit ตามความเหมาะสมทำให้ประหยัด IP หรือใช้IP ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของการใช้VLSM ยังมีดังนี้
•VLSM จะยอมให้มีการแบ่ง Subnet ได้มากกว่า 1 ครั้งสำหรับแต่ละชุด IP เพื่อให้ได้ขนาด IP ตามที่
ต้องการ
•VLSM จะช่วยลดจำนวนการจัดสรร IP ลง เป็นการใช้งาน IP อย่างมีประสิทธิภาพ
•VLSM ยังช่วยให้Router ทำงานได้เร็วขึ้นเนื่องจากขนาดของ Routing Table เล็กลง
ตัวอย่างการจัดสรร IP ด้วยหลักการ VLSM



จากรูปด้านบนถ้ากำหนด IP มาให้ เป็น 192.168.55.0 /24 ให้ทำการแบ่ง จำนวน host ให้เหมาะสมกับแต่
ละ Subnet โดยการทำVLSM จะได้ดังนี้
เมื่อดูตามค่าของ IP ที่ให้มาจะเห็นว่า ไอพีจะเริ่มตั้งแต่192.168.55.0 ไปจนถึง 192.168.55.255 หรือ
จาก 0-255 ตัว โดยใช้เรื่องของ subnet มาช่วยจะได้ดังนี้

วงที่ 1 ต้องการ 7 hosts จะได้Mask ที่เหมาะสมคือ /28 จะมีจำนวน hosts 14 ตัว เพียงพอกับ
ความต้องการ ( ใช้ /29 ไม่ได้เนื่องจากจะได้จำนวน hosts เพียง 6 ตัวเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอกับความ
ต้องการ ) ถ้าเราใช้IP ของ subnet แรกของ /28 IP ที่ใช้งานไปคือ 192.168.55.0 -
192.168.55.15 ดังนั้น IP ที่เหลือที่ยังไม่ได้ใช้คือ
IP 192.168.55.16 – 192.168.55.255

วงที่2 ต้องการ 2 hosts จะได้Mask ที่เหมาะสมคือ /30 จะมีจำนวน hosts 2 ตัวพอดี ในการ
เลือกใช้IP ต้องเลือก subnets ที่IP ไม่ซ้ำกับที่แบ่งให้วงที่1 เช่น เลือกใช้subnet ที่มีIP ตั้งแต่
192.168.55.16 - 192.168.55.19 ดังนั้น IP ที่เหลือที่ยังไม่ได้ใช้คือ
192.168.55.20 – 192.168.55.255
วงที่ 3 ต้องการ 90 hosts จะได้Mask ที่เหมาะสมคือ /25 จะมีจำนวน hosts 126 ตัว
/25 จะมีเพียง 2 subnets เท่านั้น เลือก subnet ที่IP ยังไม่ได้มีการใช้งาน เลือกใช้subnet ที่มีIP
ตั้งแต่ 192.168.55.128-192.168.55.255 ดังนั้น IP ที่เหลือที่ยังไม่ได้ใช้คือ
192.168.55.20 – 192.168.55.127
วงที่4 ต้องการ 2 hosts จะได้Mask ที่ต้องการคือ /30 จะมีจำนวน hosts 2 ตัวพอดี ในการ
เลือกใช้IP ต้องเลือก subnets ที่IP ไม่ซ้ำกับที่แบ่งให้วงที่ผ่านมา เช่น เลือกใช้subnet ที่มีIP
ตั้งแต่192.168.55.20 - 192.168.55.23 ดังนั้น IP ที่เหลือที่ยังไม่ได้ใช้คือ
192.168.55.24 – 192.168.55.127
วงที่5 ต้องการ 23 hosts จะได้Mask ที่ต้องการคือ /27 จะมีจำนวน hosts 30 ตัว ในการ
เลือกใช้IP ต้องเลือก subnets ที่IP ไม่ซ้ำกับที่แบ่งให้วงที่ผ่านมา เช่น เลือกใช้subnet ที่มีIP
ตั้งแต่192.168.55.32 - 192.168.55.63 ดังนั้น IP ที่เหลือที่ยังไม่ได้ใช้คือ
192.168.55.24 – 192.168.55.31 และ 192.168.55.64 – 192.168.55.127

วิธีการหา Summarization ทำได้โดยการแปลง IP เป็นฐานสองทั้งหมด แล้วดูเฉพาะตัว
เลขที่เหมือนกันสิ้นสุดที่bit ไหน ก็จะทำการmask ที่ bit นั้น
172.1.4.0/25 10101100 . 00000001 . 00000100 . 00000000
172.1.5.0/24 10101100 . 00000001 . 00000101 . 00000000
172.1.6.0/24 10101100 . 00000001 . 00000110 . 00000000
172.1.7.0/24 10101100 . 00000001 . 00000111 . 00000000
172.1.4.128/25 10101100 . 00000001 . 00000100 . 10000000


ดังนั้นจาก networks ทั้งหมดจะเห็นว่า ตัวเลขที่เหมือนกันจะสิ้นสุดที่bits ที่22 ดังนั้นจะmask 22
bits ( /22 ) ก็จะได้Summarization เป็น 172.1.4.0/22
หรือ ถ้าสามารถ คำนวณ IP ได้เร็วก็ไม่ต้องแปลง IP เป็นฐานสองก็ได้ โดยใช้วิธีสังเกตุจะเห็นว่า ตัวเลขจะ
เหมือนกันใน 2 กลุ่มแรกอยู่แล้ว มีกลุ่มที่สาม ที่แตกต่างกันคือตัวเลข 4 ,5 ,6 และ 7 ซึ่งมี4 ตัว คือ 4-7
ซึ่งตรงกับตัวเลข IP ในกลุ่มที่มี4 ตัวพอดี และเมื่อนำมาพิจารณาจะตรงกับ /22 ก็จะได้คำตอบ
172.1.4.0/22 เช่นกัน
การทำSummarization นั้น เพื่อให้Router ทำงานน้อยลงนั่นเองเป็นการประหยัด CPU โดยเฉพาะในเรื่อง
Routing จะเห็นได้ชัดเจนมาก

IPv6
IPv6 หรือ IP version 6 เป็นรูปแบบ IP ชุดใหม่ที่มีการพัฒนามาจาก IPv4 โดยจะใช้การส่ง
ข้อมูลเป็น 128 bit และจะใช้เลขฐาน 16 จำนวน 8 กลุ่ม เป็นเกณฑ์หลัก ( FFFF . FFFF . FFFF . FFFF
. FFFF . FFFF . FFFF . FFFF) ตัวอย่างเลข IPv6 เช่น 2301 : 0000 : 130F : 0000 : 0000 :
09C0 : 876A : 130B เป็นต้น IPv6 นั้นสามารถเขียนแบบย่อตัวเลขโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
- มีเลข 0 อยู่ในแถว 4 ตัว ติดกันสามารถยุบให้เหลือเพียงแค่ตัวเดียว
: 0000 = : 0
- มีเลข 0 อยู่หน้าแถวของจำนวนกลุ่ม สามารถยุบให้เหลือเพียงแค่ตัวเลขเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องเขียนเลข 0
: 0978 = : 978
: 00AB = :AB
- มีเลข 0 อยู่ในแถวติดกันสองกลุ่มขึ้นไปสามารถยุบ จำนวนกลุ่มนั้นๆ แล้วใส่แค่เพียงเครื่องหมาย :: แทนได้
เช่น 0000:0000:0000 = :: แต่จะมี:: ได้แค่ที่เดียวในตัวเลข IPv6 และจะต้องไม่
อยู่ท้ายสุด
จากหลักเกณฑ์ดังกล่าว สามารถเขียน IPv6 จาก
123C : 0456 : 0000 : 87FD : 0000 : 0000 : CCA2 : 34E2
เขียนใหม่เป็น 123C : 456 : 0 : 87FD : : CCA2 : 34E2
การแปลงเลข IPv4 เป็น IPv6 สามารถทำได้ดังนี้
IP 192 . 168 . 1 .1  : : 192 . 168 . 1 . 1

IPv6 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- Unicast จะเป็นการส่งข้อมูล แบบตัวต่อตัวโดยเลือกเป็นคู่ ๆ เฉพาะเจาะจง
- Multicast จะเป็นการส่งข้อมูลแบบทั่วถึง โดยการส่งหาทุกตัวในกลุ่ม
- Anycast จะเป็นการส่งข้อมูล แบบสุ่มเลือกหรือ คัดสรร ตัวที่ต้องการจะส่งให้เท่านั้น โดย Anycast จะ
เป็นส่วนหนึ่งของMulticast
IPv6 จะไม่มีการ broadcast


วิธีการคิด Subnet Mask


  ในการเช่าอินเทอร์เน็ต กับ ISP นั้นเราจะได้ IP มา 2 ชุด คือ ชุดที่ใช้ติดต่อกับ ISP(IP WAN)และ ชุดที่เป็น IP จริงให้เราใช้งาน ในที่นี้ ผม จะยกตัวอย่าง เน็ต ที่ องค์กร ผมเช่าอยู่ ผมเช่า กับ การสื่อสารแห่งประเทศไทย โดย ผมได้ หมายเลข IP WAN มาดังนี้ 61.19.193.200/30 และ IP LAN 61.19.194.240/29 ซึ่ง ตัวเลขที่อยู่ ข้างหลัง / ก็คือ Sub net mask นั่นเอง วิธีการ คิด Subnet mask มีดัง นี้ เช่น /30 หมายถึง 255.255.255.252 ส่วน /29 หมายถึง 255.255.255.248 โดยมีวิธี คิดดังนี้ IP เราแบ่งตัวเลขเป็น 4 ชุดโดยคั่นด้วย เครื่องหมาย . โดยมีชุดละ 8 บิต และตัวเลขแต่ละชุด จะมีค่า ตั้งแต่ 0-255 ทีนี้เราลองมาดูกันว่า เราจะเอาเลขข้างหลังเครื่องหมาย / มาตีความเป็น ตัวเลขได้ ยังงัย และที่สำคัญ Subnet mask ยังเป็นตัว กำหนด จำนวนเครื่อง ที่ จะสามารถ ใช้ IP จริง ในเครือข่ายเรา ว่าสามารถ มีได้ กี่เครื่อง อีกด้วย



ตัวอย่างที่ 1
          61.19.193.0/24 ซึ่งในที่นี้ หมายเลข IP ที่เราได้มาก็คือ 61.19.193.0 ส่วน Subnet mask ก็คือ 255.255.255.0 -> มาจาก อย่างที่เราบอกตั้งแต่ต้น นะครับ ว่า มี 4 ชุด ชุด ละ 8 บิต ดังนั้น ในที่นี่ /24 ย่อมหมายถึง 24 บิต เมื่อเรา เอา 8 มาหาร ก็ จะได้ 3 ชุด ใช่มั๊ย ครับ และ แต่ละ ชุด จะมีค่าตั้งแต่ 0-255 ดังนั้น ตัวอย่างนี้ เรา หารออกมาได้ 3 ชุดเต็มๆ ไม่มี เศษ ฉะนั้น ค่าตัวเลขของแต่ละ ชุด จึงเป็นค่าเลขสูงสุด คือ 255 เมื่อเรานำแต่ละชุดมาเชื่อมกัน จึงได้ 255.255.255.0 เนื่องจากเลขชุดที่ 4 ไม่มีเศษ จึงมีค่าเป็น 0 โดย ปริยาย จากตัวอย่าง เครือข่ายเรา สามารถ มีเครื่องที่ใช้ IP จริงได้ 256 IP แต่สามารถใช้งานจริงๆได้เพียง 254 IP เท่านั้น คือ 1-254 เพราะ แบ่งเป็น IP Broadcast 2 IP คือ 0 กับ 255


ตัวอย่างที่ 2
          61.19.194.240/29 จากตัวอย่าง นี้ เมื่อเรา นำ 8 มาหาร เราก็ จะได้ 3 กับเศษ อีก 5 แน่นอน ครับ ว่า IP 3ชุดแรก ของ Subnet mask ของเรา ต้องเป็น 255.255.255 แน่นอน ทีนี้มาดู นะครับ ว่า เศษ 5 ที่เหลือ จะแปลงเป็น ตัวเลขได้อย่างไร แต่ บางคนอาจสงสัย ว่า เศษ 5 มาได้ อย่าง ไร เศษ 5 มา จาก นี้ ครับ /29 เมื่อ หาร 8(อย่างที่บอกข้างต้นว่า แต่ละชุด มี 8 บิต เราจึงใช้ 8 หาร) จะได้ 3 ชุด ชุดละ 8 ก็ คือ 24 (8X3) เมื่อเรานำ 29 มาลบ ก็จะเหลือ 5 บิตนั่นเอง ทีนี้เรามาดูว่า ค่าแต่ ละ บิต นั้นมีค่าเท่า ไร โดยเริ่มจาก ซ้ายมาขวา นะครับ
ค่าตัวเลขประจำบิต บิตท ี่1 = 128 บิตท ี่2 = 64 บิตที่ 3 = 32 บิตที่ 4 = 16 บิตท ี่5 = 8 บิตที่ 6 = 4 บิตท ี่7 = 2 บิตที่ 8 = 1 อย่างที่เห็น นะครับ ว่า เมื่อเรานำค่าตัวเลขทั้ง 8 บิต มารวมกัน จะได้ 255 พอดี ทีนี้ มาดูนะครับ ว่า เศษ 5 ของเรา มีค่าเท่าไร เราก็นำค่าประจำบิต มาบวกกันก็จะได้ ค่าแล้ว ครับ เศษ 5 บิต = 128+64+32+16+8 ผลลัพธ์คือ 248 ฉะนั้น ค่าชุดที่ 4 ของเรา ก็ คือ 248 เมื่อ นำค่าทั้งหมดมาเชื่อมกัน ก็ จะได้ Subnet mask คือ 255.255.255.248 ดังนั้นเครือข่าย นี้ สามารถ มี เครื่องที่ใช้ IP จริง ได้ ทั้งหมด 8 IP (255-248) แต่ใช้งาน จริงๆได้ เพียง 6 IP ตั้งแต่ IP หมายเลข 61.19.194.241-61.19.194.246 แบ่งเป็น Broadcast 2 IP คือ IP หมายเลข 61.19.194.240 กับ 61.19.194.247

การติดตั้ง Windows 7 Ultimate, Windows 8

การติดตั้ง Windows 7 Ultimate

เนื้อหาถูกซ่อน จะแสดงเนื้อหาก็ต่อเมื่อคุณแสดงความเห็น
ขั้นตอนการติดตั้ง Windows 7 Ultimate
การติดตั้ง Windows 7 Ultimate มีขั้นตอนดังนี้
1. เมื่อทำการบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยแผ่นดีวีดี Windows Setup จะได้หน้าจอ Windows is loading files และ Starting Windows ดังรูปที่ 1 ให้รอจนระบบทำงานแล้ว
เสร็จ

รูปที่ 1 Starting Windows

2. ในหน้าต่าง Install Windows ให้เลือกภาษาที่ต้องการ และตั้งค่าอื่นๆ ตามความต้องการ เสร็จแล้วคลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนต่อไป
ในที่นี้เลือก:
Language to install: English
Time and currency format: English (United States)
Keyboard or input method: US




รูปที่ 2 Install Windows

3. ในหน้าต่างถัดไปให้คลิก Install Now เพื่อทำเริ่มการติดตั้ง Windows 7


รูปที่ 3 Install Now

4. ในหน้า Select the operating system you want to install ให้เลือก Windows 7 Home Basic เสร็จแล้วคลิก Next


รูปที่ 4 Windows 7 Ultimate

5. ในหน้าต่าง Please read the license terms ให้อ่าน License Terms เสร็จแล้ว ให้คลิกเช็คบ็อกซ์ I accept the license terms จากนั้นคลิก Next เพื่อไปยังหน้าถัดไป


รูปที่ 5 License Terms
6. ในหน้าต่าง Which type of installation do you want? ให้เลือกเป็น Custom (Advanced)


รูปที่ 5 Custom (Advanced) installation

7. ในหน้าต่าง Where do you want to install Windows? ให้เลือก Hard Disk หรือ Partition ที่ต้องการติดตั้ง เสร็จแล้วคลิก Next



รูปที่ 7 Select Hard Disk/Partition
หมาย เหตุ: ในกรณีที่ใน Hard Disk หรือ Partition ที่เลือก มีการติดตั้งวินโดวส์เวอร์ชันอื่นอยู่ ระบบจะแสดงข้อความแจ้งเตือน ให้คลิก OK เพื่อยืนยันการติดตั้ง
Windows 7

8. ระบบจะเริ่มทำการติดตั้ง Windows โดยจะดำเนินการต่างๆ ดังนี้ คือ Copying Windows files, Expanding Windows files, Installing features และ Installing updates
หลังจากทำการติดตั้งขั้นตอน Installing updates
หลังจากทำการติดตั้ง ขั้นตอน Installing updates แล้วเสร็จ จะทำการรีสตาร์ทระบบ 1 ครั้ง หลังจากรีสตาร์ทเสร็จจะทำขั้นตอน Completing Installation ต่อ หลังจากทำ
ขั้นตอน Completing Installation แล้วเสร็จ จะทำการรีสตาร์ทระบบอีก 1 ครั้ง


รูปที่ 8 Installing Windows

9. หลังจากรีสตาร์ทก็จะทำการเตรียมระบบดังรูปที่ 9 เสร็จแล้วจะแสดงหน้าต่าง Set Up Windows ดังรูปที่ 10 เพื่อให้เลือก User name และตั้งชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์


รูปที่ 9
ใน หน้าต่าง Set Up Windows ให้พิมพ์ User name ที่ต้องการในกล่องใต้ Type a user name: จากนั้นใส่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการในกล่องใต้ Type a computer
name: เสร็จแล้วคลิก Next


รูปที่ 10 Set Up Windows

10. ในหน้าต่าง Set a password for your account ระบบจะให้กำหนดรหัสผ่านสำหรับ User name ที่สร้างในขั้นตอนที่ 8 ใส่รหัสผ่านที่ต้องการ 2 ครั้ง ในกล่องใต้ Type
a password (recommended): และ Retype your password: จากนั้นพิมพ์ข้อมูลช่วยจำรหัสผ่านในช่อง Type a password hint: เสร็จแล้วคลิก Next


รูปที่ 11 Set a password for your account

หมายเหตุ:
กำหนด รหัสผ่านในขั้นตอนที่ 10 เป็นอ็อปชัน นั้นคือ ไม่จำเป็นต้องกำหนดรหัสผ่านก็ได้ แต่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบ ผมขอแนะนำให้กำหนดรหัสผ่าน และ
ในกรณีที่กำหนดรหัสผ่านจะต้องกำหนดข้อมูลช่วยจำรหัสผ่านด้วย ระบบจึงจะยอมให้ดำเนินการในขั้นตอนถัดไป
11. ในหน้า Type your Windows product key ให้ใส่หมายเลขโปรดักส์คีย์ (ขั้นตอนนี้เป็นอ็อปชันไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้) เสร็จแล้วคลิก Next
หมาย เหตุ: หมายเลขโปรดักส์คีย์นั้น ไมโครซอฟท์จะให้มาพร้อมกับการดาวน์โหลดสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิก Technet และ MSDN สำหรับลูกค้าทั่วไปนั้นจะมาพร้อม
กับแพ็กเกจที่ซื้อ

รูปที่ 12 Type your Windows product key
Tip: ผมแนะนำให้เคลียร์เช็คบ็อกซ์ Automatically activate Windows when I'm online แล้วค่อยทำการแอคติเวตแบบแมนนวลภายหลัง
12. ในหน้าต่าง Help protect your computer and improve Windows automatically ให้เลือก Use recommended settings หรือ Install inportant updates only หรือ Ask
me later ในที่นี้เลือกหัวข้อหลัง



รูปที่ 13 Help protect your computer and improve Windows automatically

13. ในหน้าต่าง Review your time and date settings ให้ทำการตั้ง Time Zone ให้ตรงพื้นที่ใช้งาน และตั้ง Date และ Time ให้ตรงกับวัน-เวลาจริง เสร็จแล้วคลิก Next


รูปที่ 12 Review your time and date setting
หมายเหตุ: Time Zone ของประเทศไทยเป็น UTC+07.00 หรือ GMT+07:00 ในวินโดวส์เวอร์ชันก่อนหน้า

14. ในหน้าต่าง Select your computer's current location ให้เลือกเป็น Home network หรือ Work network หรือ Public network


รูปที่ 15 Select your computer's current location
หมายเหตุ: ขั้นตอนนี้จะมีเฉพาะในกรณีติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์ก

15. วินโดวส์จะทำการจัดเตรียมระบบตามการตั้งค่าต่างๆ ที่กำหนดในขั้นตอนด้านบน เมื่อเสร็จแล้วก็จะได้หน้า Desktop ดังรูปด้านล่าง


รูปที่ 16 Windows 7 Ultimate (RTM) Desktop
• หมายเลขเวอร์ชันของ Windows 7 Ultimate
หลัง จากทำการติดตั้ง Windows 7 Ultimate (RTM) เสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถดูหมายเลขเวอร์ชันได้โดยการรันคำสั่ง winver (คลิก Start พิมพ์ winver ในช่อง Search
programs and files เสร็จแล้วกด Enter) เมื่อดูเวอร์ชันของ Windows 7 Ultimate (RTM) หมายเลขเวอร์ชันคือ 6.1 (Build 7600)


รูปที่ 17 Windows 7 Ultimate Version Number
• Windows 7 Ultimate Log on Screen
เมื่อทำการสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows 7 Ultimate จะได้หน้า Log on Screen ดังรูปด้านล่าง




-----------------------------------------------------------

ขั้นตอนการติดตั้ง Windows 8

ขั้นตอนการติดตั้ง windows 8
• ใส่แผ่น Windows8 ลงใน CD-Rom จากนั้นทำการ ตั้งค่าเพื่อเลือกให้บูตจากไดรว์ CD/DVD
2
• เมนบอร์ดยี่ห้อ Asus, ESC, Gigabyte กดปุ่ม Del, Delete
• เมนบอร์ดยี่ห้อ Asrockกดปุ่ม F2แล้วใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนซ้ายขวา เพื่อเลือกไปที่หัวข้อ Boot -
> Boot Device Priorit
• Boot Computer เมื่อเริ่มระบบจะมีข้อความ Press any key boot from CD or DVD
กด Enter 1 ครั้งเพื่อเป็นการเข้าสู้หน้าต่างของการลง Windows 8


• ปล่อยให้เครื่องทำงานไปจนได้จนปรากฎดังภาพ ให้คลิกเลือกรายการตามนี้
• Language to install : English
• Time and currency format : Thai(Thailand)

• Keyboard or input method : ตัววินโดวส์จะเลือกให้เป็น Thai เพราะเห็นว่า Time and
currency formatตั้งเป็น Thai ให้เราเลือกกลับมาเป็น US ก่อน
เหตุผลเพราะเมื่อติดตั้งเสร็จหน้าล็อกออนเข้าระบบจะเป็นภาษาไทย
เราอาจจะงงได้ในการกรอกชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ด


ในหน้าต่าง Windows Setup ให้คลิก Install now เพื่อเริ่มการติดตั้ง Windows 8


• ในหน้าต่าง License terms คลิกถูก I accept the term license จากนั้นคลิก Next


• ในหน้าต่าง Which type of installation do you want? ให้เลือกเป็น Custom: Install
Windows only (advanced)


• ในหน้าต่าง Where do you want to install
Windows? ให้เลือกฮาร์ดดิสก์หรือพาร์ติชันที่ต้องการติดตั้ง (ในที่นี้เลือก Drive 0)
เสร็จแล้วคลิก Next


ข้อควรจำในขั้นตอนนี้
ขั้นตอนนี้เราเลือก Drive ที่จะลง Windows8 ส่วนมาก จะลงใน Disk/Drive 0
ก็คือ Drive C: ของWindows เรานั้นเอง ระวังให้ดีอย่าลงผิดไดร์ฟนะ
ในกรณีที่มีพาร์ติชันมากกว่า 1 พาร์ติชัน


• ในการ Format Winddows ข้อมูลจะหายเฉพาะที่ Drive C สำหรับเครื่องที่มี Windows xp,
Windows 7 แล้วจะลงใหม่เป็น Windows 8
1.ให้ทำการ Format Drive ที่เป็นวินโดวส์ตัวเก่าก่อน โดยทำการกด Drive options
(advanced) จากนั้นเลือก ไดร์ฟของวินโดวส์เก่าแล้วคลิก Format ย้ำอีกครั้ง
ถ้าผิดไดร์ฟข้อมูลในไดร์ฟหาย
2. จากนั้นก็เลือก Drive/disk ที่เรา Format ไปจากข้อที่ผ่านมา จากนั้นกด Next


• ระบบจะเริ่มทำการติดตั้ง Windows 8 โดยจะดำเนินการขั้นตอนต่างๆ
ของวินโดวส์ตามนี้ Copying Windows files, Getting files ready for installation, Installing
features, Installing updates และ Finishing upให้รอจนการติดตั้งแล้วเสร็จ ก็ประมาณ 15
- 20 นาที ขึ้นอยู่กับเครื่องว่าแรงขนาดไหน


• เมื่อ Windows 8 ติดตั้งเรียบร้อย เครื่องจะรีสตาร์ท 1 ครั้ง

• หลังจากทำการติดตั้งแล้วเสร็จ Windows จะทำการรีสตาร์ทเครื่อง 1-2 รอบ
จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างPersonalize ให้ทำการเลือกสีของ Background และกำหนดชื่อเค
รื่องคอมพิวเตอร์โดยใส่ชื่อที่ต้องการในช่อง PC name เสร็จแล้วคลิก Next


• ขั้นตอนการ Settings ให้เราเลือก Use Express
Settings เพื่อทำการตั้งค่าระบบแบบด่วน


• ในหน้าต่าง Sign in to your PC ให้คลิก Sign in without a Microsoft
account แล้วคลิก Next ในขั้นตอนนี้จะมีวิธีการ Sign in to your PC อยู่ 2วิธี ได้แก่ Email
Address และ Sign in without a Microsoft account สำหรับในที่นี้ขอให้เลือก Sign in
without a Microsoft account เพราะสะดวกกว่า ส่วนEmail
Address เราต้องต่ออินเตอร์เน็ตและต้องมีEMailข
อง outlook.com หรือ Hotmail.com อยู่ก่อนแล้ว
ซึ่งเราสามารถสร้างได้ภายหลังที่เข้าใช้วินโดวส์แล้วก็ได้


• หน้าต่างต่อมาให้คลิก Local account



• ต่อมาให้กำหนดชื่อผู้ใช้ในช่อง User name แล้วกำหนดรหัสผ่านที่ต้องการ 2 ครั้ง
ในช่อง Password และReenter
password จากนั้นข้อความช่วยจำรหัสผ่านในช่อง Password hint แล้วคลิก Finish



• เมื่อมาถึงหน้า Lock on Screen ก็พร้อมใช้งาน Windows 8 ได้แล้ว


3. การตั้งค่าภาษาไทย
3.1 เมื่ออยู่ที่หน้าเดสก์ทอปให้คลิก ENG ที่ Taskbar แล้วคลิกที่ Language preferences


3.2 หน้าต่าง Language ให้คลิกที่ Advanced settings


3.3 ต่อมาให้คลิกเลือกที่ Change language bar hot keys



3.4 หน้าต่าง Text Services and Input Languages ให้คลิกที่ Change Key Sequence


3.5 ต่อมาที่รายการ Switch Input Language ให้คลิกทำเครื่องหมายจุดที่ Grave Accent และที่
Switch Keyboard Layout ให้คลิกทำเครื่องหมายจุดที่ Not Assigned เสร็จแล้วคลิก OK



4. การตั้งเวลาใน Windows
4.1 การตั้งโซนเวลาจาก PC Settings ทำได้โดยการใช้ชาร์มบาร์ (Charm bar) และสามารถ
ดำเนินการได้จากหน้า Start หรือ Desktop ตามขั้นตอนดังนี้
ในหน้า Start หรือ Desktop
ให้เลื่อนเคอร์เซอร์เม้าส์ไปบริเวณมุมบนขวาหรือมุมล่างขวาของหน้าจอเพื่อเปิดชาร์มบาร์จากนั้
นคลิก Settings แล้วคลิก Change PC Settings ดังภาพ